ความแตกต่างระหว่าง CMYK และ RGB
ปกติการเลือกใช้สีนั้น จะมีด้วยกันอยู่ 2 แบบคือ CMYK และ RGB สามารถแบ่งแยกประเภทการใช้งานได้ง่ายๆ นั้นก็คือ
CMYK สีที่ใช้ในงานที่พิมพ์
ถ้าเป็นสีที่ต้องพิมพ์ออกมา ไม่ว่าจะพิมพ์ในรูปแบบใดก็ตาม จะต้องใช้ค่าสีของ CMYK
RGB สีที่ใช้แสดงผลทางหน้าจอ
ถ้าต้องการสีที่แสดงผลออกทางหน้าจอต่างๆ ก็จะเลือกใช้ RGB เท่านั้น
ซึ่งหลักการดังกล่าว ในปัจจุบัน ยังมีผู้มีความเข้าใจในส่วนนี้น้อยมาก เนื่องจากว่า นักออกแบบมือสมัครเล่น หรือ มือใหม่ เวลาต้องการจะทำงานประเภทสิ่งพิมพ์ ก็มักตั้งค่าสีเป็น RGB เพราะว่าค่าสีดังกล่าวสีสดกว่า แต่เมื่อสั่งพิมพ์แล้ว ทำให้ค่าสีที่ออกมาผิดเพี้ยน มากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับสีที่เลือก เช่น เลือกสีแดง อาจจะได้สีชมพู เหลือสีม่วง อาจจะได้สีน้ำเงิน ดังนั้นผู้ที่ใช้โหมดสีควรจะทำความเข้าใจของงานให้มาก เพื่องานที่ออกมาจะได้ค่าสีที่ตรงกับความต้องการ
RGB ผสมแค่ 3 สี จึงทำให้เกิดสีสันที่สดกว่า (สีสด)
ใช้สำหรับงานออกแบบ digital เช่น เว็บไซด์ ตัดต่อภาพยนต์ หรืองานทุกชนิดที่แสดงบนหน้าจอ digital
สี RGB ย่อมาจาก Red - Green - Blue ซึ่งเป็นแม่สีจากต้นกำเนิดที่เป็นแสง เช่น จอทีวี, จอคอมพิวเตอร์, จอโทรศัพท์มือถือ, หรือแม้แต่จอ VDO Projector (ลองสังเกตจอ Projector บนเครื่องบิน ก็จะเห็นว่ามีเลนส์อยู่ทั้งหมด 3 สี) โดยระบบสี RGB นี้จะสามารถสร้าง "ขอบเขตสี" ที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ นั่นคือ ระบบสี RGB จะสามารถสร้างเฉดสีต่างๆ จากแสงแม่สีทั้ง 3 สี ได้อย่างมากมายนับไม่ถ้วน
CMYK คือการผสมสี 4 สี ดังนั้นเมื่อผสมทั้ง 4 สี เลยทำให้ขอบเขตของสีกว้างกว่า RGB (สีจืด) ใช้สำหรับงานออกแบบสิ่งพิมพ์ทุกชนิด
สี CMYK ซึ่งเป็นแม่สีจากต้นกำเนิดที่เป็นสีทึบแสง เช่น สีโปสเตอร์ (ที่เราใช้ทำงานศิลปะส่งอาจารย์ตอนประถมฯ), สีน้ำ, และสีจากหมึกพิมพ์ นั่นเอง โดยระบบการพิมพ์ปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์ด้วยเครื่อง Printer ขนาดเล็กอยู่ที่บ้าน (ทั้ง Laser และ Inkjet) ไปจนถึงแท่นพิมพ์ขนาดใหญ่ อย่างแท่นพิมพ์ Offset ส่วนใหญ่ก็จะพิมพ์ด้วยระบบ CMYK ทั้งนั้น
ทั้งหมดสรุปสั้นๆ ได้ว่า CMYK ใช้สำหรับงานพิมพ์ RGB ใช้สำหรับงาน ที่แสดงผลทางหน้าจอนั้นเอง